สายงานเทคโนโลยีอาหาร เป็นสายงานที่โดนจับตามองมากที่สุดในภาคใต้ เนื่องจากมีสถานประกอบการด้านอาหารแปรรูปอยู่ในพื้นที่ภาคใต้กว่า 40% รองจากการท่องเที่ยวและระบบโลจิสติกส์
จากการเติบโตของธุรกิจและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากขึ้นทุกวัน ทำให้มนุษย์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสุดล้ำที่จะมาทดแทนแรงงานคนอย่าง AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายขึ้น และถึงแม้จะมีความหวาดกลัวในการตกงานต่อความล้ำหน้าเหล่านี้แต่รายงานล่าสุดของ Gartner ระบุว่าในปี 2020 แม้ AI จะมีส่วนทำให้อัตราการจ้างงานคนลดไป 1.8 ล้านตำแหน่งแต่ก็จะสร้างงานใหม่อีก 2.3 ล้านตำแหน่งเช่นกัน ซึ่ง Peter Sondergaard หัวหน้านักวิจัยของ Gartner คาดการณ์ว่า AI จะเพิ่มความสามารถของแรงงานและอาจเป็นผู้สร้างงานทั้งหมดอีกด้วย จากการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิต แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและยังไม่มีบริษัทใดใช้ระบบ Automation อีกทั้งเทคโนโลยีที่ใช้อยู่เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงงาน แม้มีการอัพเกรดเครื่องจักรบ้างแต่ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนกระบวนการผลิต (Production Process) และการขนย้ายวัสดุ (Material Handling)เท่านั้น
สาขาอาชีพที่มาแรง และพร้อมรับนักศึกษายุคดิจิทัลปัจจุบันในภาคใต้คงหนีไม่พ้น กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทั้งอาหารทะเลแช่แข็ง ด้านผลผลิตทางการเกษตร การวิเคราะห์วัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 55% ของในพื้นที่ภาคใต้ และเข้าสู่สายงานผลิตอาหารหรือเครื่องดื่มอีกด้วย อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เมื่ออุตสาหกรรมอาหารมีการพัฒนามากขึ้น ตอบสนองผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นโดยไม่ได้รับประทานเพื่อความอร่อยเพียงอย่างเดียว จึงมีการลงทุนและมีการขยายตัวของบริษัทผู้ผลิตอาหาร โดยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆเข้าไปเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านั้น เช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานผลิตอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารอบแห้ง โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เมล็ดธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม โดยในแถบจังหวัด สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง ปัตตานี และนครศรีธรรมราช มีทั้งโรงงานอาหารทะแลแปรรูป และการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้น รวมทั้งการส่งออกทางเรือ อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารขบเคี้ยวซึ่งมีตั้งแต่ระดับครัวเรือน เป็นต้น
Food Science (วิทยาศาสตร์การอาหาร และเทคโนโลยีการอาหาร) ซึ่งมหาวิทยาลัยในภาคใต้ มีสาขาดังกล่าวทุกมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นต้น การก้าวหน้าในสายงานนี้ อาทิ แผนกผลิต (production) บริหารและวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร เลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่เหมาะสมในการแปรรูปอาหาร จัดหา ควบคุมคุณภาพ บันทึก วัตถุดิบ และเตรียมวัตถุดิบ(raw material preparation) เรียกได้ว่าต้องควบคุมทั้งเครื่องจักรและคนงาน ให้ผลิตสินค้าออกมาถูกต้องตามที่ฝ่ายวิจัยออกแบบไว้ ต้องใช้ทักษะของวิชาบริหารจัดการเข้ามาช่วยอย่างมาก / แผนกวิจัยพัฒนา (Research and Development) วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และกระบวนการแปรรูปอาหาร การถนอมอาหาร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าลดต้นทุน ประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม / แผนกควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพ (quality control and quality assurance) / ด้านอื่นๆ เช่น การขาย การตลาด คุณค่าทางโภชนาการ
อีกสายงานที่มาแรงไม่น้อยกว่ากันก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังเติบโตเท่าๆกับการสายงานโลจิสติกส์ ธุรกิจแฟรนไชส์ ต่อยอดผลิตผลท้องถิ่น คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในกลุ่ม GenY (อายุ 21-38 ปี ซึ่งมีรวมกันประมาณ 17.3 ล้านคน) ซึ่งสนใจอยากเป็นเจ้าของกิจการมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบใหม่หรือทำงานไม่นาน ยิ่งในปัจจุบันมีช่องทางต่างๆ ที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทแฟรนไชส์รูปแบบการดำเนินธุรกิจ เงินลงทุนอย่างละเอียด หน่วยงานภาครัฐของไทย มีการจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน รวมถึงการจัดงานแสดงเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในภาคใต้ที่กำลังเป็นที่นิยม พบเห็นได้ทั่วไปตามงานต่างๆ เช่น สาหร่ายพวงองุ่นและสาหร่ายขนนก เมนูสำหรับคนรักสุขภาพซึ่งในปัจจุบันนิยมกินกันอย่างแพร่หลาย สาหร่ายพื้นถิ่นทางฝั่งอันดามัน ซึ่งจังหวัดตรังจะมีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว โดยไม่ได้ขายส่งในเฉพาะจังหวัดตรังเท่านั้น ยังขายส่งไปจังหวัดต่างๆ ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ส่งทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ทางอีกด้วย, สวนหยงสตาร์การ์เด้นท์ จ.ตรัง เกษตรกรผู้เคยประสบความสำเร็จในการปลูกองุ่นขายได้เป็นรายแรกในภาคใต้ นำเข้าเมล็ดพันธุ์ ‘บัตเตอร์นัท’ หรือฟักทองเมืองหนาวจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งหาซื้อไม่ได้โดยทั่วไปในท้องตลาดหรือห้างสรรพสินค้ามาทดลองปลูกจนสำเร็จ
หนึ่งในจุดอ่อนของธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ดึงดูด เป็นที่รู้จักและจดจำ อาชีพที่จะส่งเสริมในส่วนนี้แน่นอนว่าต้องเป็น กราฟิกดีไซน์ (Graphic Designer) อาชีพด้านไอที ที่เน้นการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบเว็บไซต์ ออกแบบโลโก้ แต่งภาพ หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ รายได้ค่อนข้างสูงมากและยังมีจุดแข็งที่ AI ไม่สามารถแย่งงานได้นั่นก็คือ งานด้านนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ยากที่หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทน เช่น นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบนิทรรศการ และงานด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
สุดท้ายเราสายงาน นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer) เมื่อตลาดเปลี่ยนจาก Traditional เป็น Digital สร้างความขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ถึง 85% รวมทั้งเงินเดือนสูงกว่าอาชีพเดิมถึง 61% เพื่อให้ตามทันกลุ่มลูกค้าในยุคดิจิทัล หลายบริษัทได้ทุ่มงบประมาณในการทำการตลาดดิจิทัลมากขึ้น สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายงาน เช่น สาขาการตลาดดิจิทัล สาขาการตลาด และสาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล
เมื่อมาสำรวจการต้องการแรงงานพื้นที่ภาคใต้ ผู้ประกอบการกว่า 75% ยังต้องการนักศึกษาจบใหม่และเป็นนักศึกษาที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพื่อนำมาช่วยขับเคลื่อนองค์กรในส่วนภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งงานส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในพื้นที่ สงขลา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และกระบี่ โดยหากมองกันอย่างแบบเจาะลึก จังหวัดสงขลามีสถาบันการศึกษาชั้นนำ กว่า 5 แห่ง รองลงมาอยู่ที่นครศรีธรรมราช แรงงานรุ่นใหม่ก็หมุนเวียนอยู่ใน 2 จังหวัดนี้ ตำแหน่งงานที่ต้องการมาแรงงานอย่างที่วิเคราะห์กันนั้น คือ นักเทคโนโลยีอาหาร การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ นักการตลาดดิจิทัล และสายเทคโนโลยีสารสนเทศ มายังแรงอย่างเห็นได้ชัด
คลิกค้นหาและสมัครงานในภาคใต้ (เปิดรับทุกตำแหน่งงาน)
ข่าวโดย : สำนักงานภาคใต้
ขอบคุณภาพประกอบ : สยามรัฐ / ประชาชาติธุรกิจ / ศูนย์วิจัยกสิกรไทย / มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด